Guestpost โฟสฟรี ถ้าคุณมีสาระดีๆ ที่นี่เราให้คุณได้แบ่งปัน

Notifications
Clear all

วางแผนภาษีไม่ให้สะดุด เพื่อประหยัดเงินภาษีอย่างถูกกฎหมาย ด้วยการซื้อกรมธรรม์ประกันชีวิต

1 Posts
1 Users
0 Likes
255 Views
supachai
(@supachai)
Posts: 2470
Noble Member
Topic starter
 

2021-11-01-172752

ไม่ว่าจะเป็น บุคคลธรรมดา ห้างหุ้นส่วนจำกัดหรือคณะบุคคลที่ไม่ใช่นิติบุคคล  ผู้ที่เสียชีวิตระหว่างปีภาษี  กองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง  ล้วนแล้วแต่จะต้องเป็นผู้ที่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และจะดีกว่าไหมถ้าเราวางแผนภาษีตั้งแต่เดี๋ยวนี้ !!  เพื่อจะได้ไม่ต้องสะดุดในการเสียภาษีก้อนโต ในทุกๆ ปี

ภาษีเงินได้ที่เราต้องจ่าย  เกิดจากเงินรายได้ 8 ประเภท ด้วยกันคือ

  1. เงินจากรายได้หลัก รายได้ประจำ เช่น เงินเดือน
  2. เงินจากรายได้พิเศษ เช่น ค่าคอมมิชชั่น
  3. เงินจากค่าลิขสิทธิ์ ทรัพย์สินทางปัญญา
  4. เงินจากดอกเบี้ยปันผลจากการลงทุน
  5. เงินจากการให้เช่าทรัพย์สิน
  6. เงินจากวิชาชีพอิสระทางการแพทย์และอื่น ๆ
  7. เงินจากการรับเหมาก่อสร้าง
  8. เงินจากธุรกิจพาณิชย์ การเกษตร

ส่วนรายการลดหย่อนภาษี  ก็ประกอบไปด้วย

  • ค่าลดหย่อนด้านภาระติดตัวคุณ เช่น  ค่าใช้จ่ายส่วนตัว   ภรรยา บุตร พ่อแม่  ดูแลผู้พิการ
  • ค่าลดหย่อนด้านการประกันและการลงทุน เช่น  ประกันชีวิต เงินฝากที่มีประกันชีวิต  ประกันสุขภาพตัวเอง  โดยรวมกัน และ สามารถลดหย่อนได้ถึง 100,000 บาท  ประกันสุขภาพพ่อแม่ 15,000 บาท  เบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ  200,000  บาท   กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ กองทุนออม ฯ   รวมแล้วในหมวดนี้เราสามารถลดหย่อนได้ถึง 500,000 บาท เลยทีเดียว
  • ค่าลดหย่อนด้านการกระตุ้นเศรษฐกิจ เช่น ดอกเบี้ยบ้าน
  • ค่าลดหย่อนด้านการบริจาคให้พรรคการเมือง
  • ค่าลดหย่อน เรื่องการบริจาคเพื่อตอบแทนสังคม  ด้านการศึกษา  โรงพยาบาล  มูลนิธิการกุศลต่างๆ

               โดยอัตราภาษีเงินได้  จะคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ในอัตราก้าวหน้าจากเงินได้สุทธิ (เงินได้สุทธิ คือ เงินได้ที่หักค่าลดหย่อนต่างๆ แล้ว) 

               ซึ่งเงินได้สุทธิไม่เกิน 150,000 บาทต่อปี ได้รับการยกเว้น ไม่ต้องเสียภาษี  หากเกินว่านี้ 1 บาท ก็ต้องเสียภาษีแล้วนะค่ะ  โดยอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา  มีดังนี้

  • เงินได้สุทธิ 150,001 – 300,000 บาท  เสียภาษีในอัตรา 5 %  
  • เงินได้สุทธิ 300,001 – 500,000 บาท  เสียภาษีในอัตรา 10 %
  • เงินได้สุทธิ 500,001 – 750,000 บาท  เสียภาษีในอัตรา 15 %
  • เงินได้สุทธิ 750,001 – 1,000,000  บาท  เสียภาษีในอัตรา 20 %
  • เงินได้สุทธิ 1,000,001 – 2,000,000  บาท  เสียภาษีในอัตรา 25 %
  • เงินได้สุทธิ 2,000,001 – 5,000,000 บาท  เสียภาษีในอัตรา 30 %
  • และเงินได้สุทธิ 5,000,001 ขึ้นไป เสียภาษีในอัตรา 35 %

การจะทำให้เงินได้สุทธิลดลงโดยไม่ได้ลดรายได้นั้นเราต้องเพิ่มค่าลดหย่อนให้มากขึ้น  โดยค่าลดหย่อนที่น่าสนใจ

คือ ค่าลดหย่อนด้านการประกันและการลงทุน ถ้าคุณวางแผนดี ๆ ก็ไม่ต้องหนักใจในเรื่องภาษีก้อนโตที่จะเกิดขึ้น เพราะนอกจากจะทำให้คุณสามารถจ่ายภาษีด้วยอัตราที่ลดลงแล้ว  ยังสามารถทำกำไรจากการลงทุนในด้านนี้ไม่มากก็น้อยอีกค่ะ

 
Posted : 01/11/2021 6:05 pm
Share: