การทำประกันภัยสำหรับที่อยู่อาศัยหลักๆ ที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองเมื่อได้รับผลกระทบจาก "น้ำท่วม" แบ่งออกได้เป็น 2 รูปแบบ ได้แก่ ประกันอัคคีภัย และประกันภัยพิบัติ
ปกติ "ประกันอัคคีภัย" จะให้ความคุ้มครองภัย 6 อย่าง ได้แก่ ไฟไหม้ ฟ้าผ่า ระเบิด ภัยจากยานพาหนะ ภัยจากอากาศยาน และภัยเนื่องจากน้ำ แต่เงื่อนไขของ "ภัยเนื่องจากน้ำ" ครอบคลุมแค่ความเสียหายที่เกิดขึ้นโดยอุบัติเหตุจากน้ำเท่านั้น เช่น น้ำรั่ว น้ำไหลล้นจากท่อน้ำ รวมถึงน้ำฝนที่ผ่านเข้าทางท่ออากาศที่ชำรุด โดยไม่รวมถึง "ภัยน้ำท่วม" ที่เป็นภัยธรรมชาติ และท่อประปาที่แตกจากนอกอาคาร ดังนั้น การทำประกันอัคคีภัยจึงไม่เพียงพอสำหรับการป้องกันความเสียหาย เมื่อเกิดเหตุการณ์ "น้ำท่วม" แต่ทั้งนี้ก็สามารถซื้อความคุ้มครองเพิ่มเติม เมื่อต้องการความคุ้มครองที่ครอบคลุมไปถึงกรณีน้ำท่วมบ้านที่เป็นภัยธรรมชาติได้
ส่วน "ประกันภัยพิบัติ" เป็นประกันที่คุ้มครองความเสียหายหรือสูญเสียของตัวบ้านหรือทรัพย์สินที่เกิดจากเหตุธรรมชาติ ได้แก่ น้ำท่วม แผ่นดินไหว ลมพายุ หรือเหตุการณ์ภัยพิบัติอื่นๆ ที่คณะรัฐมนตรีประกาศว่าเป็นสถานการณ์ภัยพิบัติรุนแรง
ความคุ้มครองของประกันภัยบ้านประเภทนี้ จะเป็นแบบจำกัดความรับผิด (Sub limit) หมายความว่า ไม่สามารถซื้อความคุ้มครองได้เต็มมูลค่าของบ้าน โดยอัตราเบี้ยประกันภัยไม่เกิน 0.5% ของความคุ้มครอง
ต่อปี ทั้งนี้ หากต้องการความคุ้มครองมากกว่า 100,000 บาท ค่าเบี้ยประกันอาจสูงกว่า 0.5% ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของแต่ละบริษัท ซึ่ง ประกันภัยพิบัติ จะเป็นประกันที่ตรงจุดสำหรับผู้ที่ต้องการความคุ้มครองจาก "ภัยน้ำท่วม" โดยเฉพาะ
ประกันภัยที่อยู่อาศัย แต่ละแพ็คเกจมีความคุ้มครองสิ่งปลูกสร้างที่แตกต่างกันไป ซึ่งสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ รวมถึงจำนวนเบี้ยประกันที่ต่างกันด้วย โดยส่วนใหญ่จะคุ้มครอง 2 ส่วนหลัก คือ "สิ่งปลูกสร้าง" ได้แก่ ตัวบ้านที่อาศัย โรงรถ และอาคารย่อย เช่น เรือนคนใช้ รวมถึงกำแพง รั้ว ประตู และส่วนปรับปรุงต่อเติม
บางแพ็คเกจประกันภัยจะครอบคลุมถึง "ของในบ้าน" เช่น เฟอร์นิเจอร์ เครื่องตกแต่ง เครื่องมือ เครื่องใช้ภายในบ้าน อุปกรณ์ไฟฟ้าภายในบ้าน เครื่องดนตรี เครื่องเสียง เครื่องครัว เครื่องนุ่งห่ม และทรัพย์สินเพื่อการอยู่อาศัยอื่นๆ
ในกรณีที่ต้องการประกันความเสียหายกรณีน้ำท่วมหรือภัยพิบัติต่างๆ สำหรับ "ทรัพย์สินมีค่า" ที่มีมูลค่าสูง อาจเลือกวิธีการทำ "ประกันภัย" ทรัพย์สินแต่แยกต่างหาก เช่น กล้อง คอมพิวเตอร์ เครื่องเสียง ฯลฯ ซึ่งการทำประกันโดยเฉพาะเจาะจงสินทรัพย์จะคุ้มครองได้ครอบคลุมลักษณะอาการมากกว่า และตรงจุดมากกว่า
สิ่งสำคัญที่ควรรู้ ในการซื้อประกันภัยบ้าน คือ
เมื่อได้รับเงินชดเชยจากความสูญเสียแรกแล้ว หากเกิดเหตุในระยะเวลาเอาประกันอีกครั้ง จะได้รับเงินชดเชยจากการประเมินความสูญเสียในจำนวนเงินเอาประกันที่เหลืออยู่เท่านั้น
และหากทำประกันมากกว่าหนึ่งประกัน เมื่อเกิดความสูญเสีย บริษัทประกันภัยแต่ละที่จะหารความรับผิดชอบและผู้เอาประกันจะไม่ได้เงินประกันเกินกว่าที่ประเมินความเสียหาย
#ประกันน้ำท่วมบ้าน ราคา
#ประกันน้ำท่วมบ้าน pantip
#ประกันน้ำท่วมบ้าน tmb
#ประกันน้ำท่วมบ้าน scb
#เคลมประกันน้ำท่วมบ้าน
#ประกันน้ำท่วมบ้าน ทิพย
#วิริยะประกันภัยน้ำท่วม
#ประกัน น้ำท่วม บ้าน วิริยะ