เจ้าของรถหรือผู้มีสิทธิครอบครองรถตามสัญญาเช่าซื้อ และผู้ที่นำรถที่จดทะเบียนในต่างประเทศเข้ามาใช้ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว ต้องจัดให้มีการประกันความเสียหายสำหรับผู้ประสบภัย (ประกันภัยพ.ร.บ. ต้องทำหรือ ต่อทุกปี) หากไม่ทำ มีโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท และหากผู้ใดที่นำรถไม่มีประกันมาใช้ ก็จะมีโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท ด้วยเช่นกัน ดังนั้น หากเป็นเจ้าของรถแล้วนำรถไปใช้โดยไม่มีประกัน ก็จะมีโทษปรับทั้งสองกระทงความผิดเลยนะค่ะ
โดยประกันภัย พ.ร.บ. จะคุ้มครองทุกชีวิต ไม่ว่าผู้ประสบภัยนั้น จะเป็นผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร หรือคนเดินถนน แต่จะให้ความคุ้มครองเฉพาะความเสียหายที่เกิดแก่ชีวิต ร่างกาย และอนามัย เท่านั้น ไม่รวมถึงความเสียหายที่เกิดขึ้นกับทรัพย์สิน ดังนั้นเมื่อเกิดเหตุเราก็สามารถอุ่นใจได้ในระดับนึงว่ามีคนจ่ายค่าสินไหมทดแทน ค่ารักษาพยาบาล แทนเราอย่างแน่นอน
ทำอย่างไรเมื่อประสบอุบัติเหตุจากรถ ?
- ให้จดทะเบียนรถหรือถ่ายภาพรถคันที่เกิดอุบัติเหตุ
- รีบนำผู้บาดเจ็บส่งโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด
- แจ้งบริษัทกลาง 1791 หรือบริษัทประกันภัยของรถคันที่เกิดเหตุ หรือ แจ้งตำรวจ
- ให้แสดงบัตรประชาชน และ แจ้งข้อมูลทะเบียนรถคันที่ก่อเหตุแก่ โรงพยาบาล
เอกสารประกอบการเบิกค่าสินไหมทดแทน ?
- กรณีบาดเจ็บ (ค่ารักษาพยาบาล สูงสุดไม่เกิน 80,000 บาท)
- สำเนาบัตรประชาชนของผู้ประสบภัย
- ใบเสร็จรับเงินค่ารักษาพยาบาล
- บันทึกประจำวันของตำรวจ (พิสูจน์ความผิดแล้ว)
- กรณีเสียชีวิต (เป็นค่าสินไหมทดแทน ตามความเสียหายที่ผู้ประสบภัยได้รับ 200,000 – 500,000 บาท)
- ใบมรณบัตร
- สำเนาบัตรประชาชนของผู้เสียชีวิต
- สำเนาทะเบียนบ้านผู้เสียชีวิต
- สำเนาบัตรประชาชนทายาท (ทายาท โดยชอบธรรม บุตร คู่สมรส และหรือ บิดามารดา ที่ยังมีชีวิตอยู่)
การจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้กับทายาทโดยธรรม บริษัทประกันภัยจะจ่ายให้กับผู้มีสิทธิตามลำดับ และหากมีทายาทผู้ที่มีสิทธิในลำดับเดียวกันหลายราย ทายาทโดยธรรมในลำดับเดียวกันนั้นมีสิทธิที่จะได้รับค่าสินไหมทดแทนในจำนวนตามสิทธิที่กฎหมายกำหนด
- บันทึกประจำวันของตำรวจ
- กรณีสูญเสียอวัยวะ ทุพพลภาพอย่างถาวร ทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง
- สำเนาบัตรประชาชนของผู้ประสบภัย
- ใบรับรองแพทย์ระบุการสูญเสียอวัยวะ หรือ ทุพพลภาพ
- บันทึกประจำวันของตำรวจ (พิสูจน์ความผิดแล้ว)
- กรณีเบิกเงินชดเชยรายวัน (จะได้รับเป็นค่าชดเชยรายวัน วันละ 200 บาท สูงสุดไม่เกิน 20 วัน)
- สำเนาบัตรประชาชนของผู้ประสบภัย
- ใบรับรองผู้ป่วยใน หรือสำเนาใบแจ้งหนี้จากโรงพยาบาล
- บันทึกประจำวันของตำรวจ
แต่อย่าลืม !! หากผู้ประสบภัยหรือทายาท หรือผู้รับมอบอำนาจผู้ใด ยื่นคำขอรับ
ค่าเสียหายโดยทุจริตหรือแสดงหลักฐานอันเป็นเท็จ เพื่อขอรับค่าเสียหายตาม พ.รบ.นี้ มีความผิด มีโทษทางอาญา ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ เลยนะค่ะ
#ประกันภัยภาคบังคับและภาคสมัครใจ
#ประกันภัยภาคบังคับ มีอะไรบ้าง
#ประกันภัย พ.ร.บ. ให้ความคุ้มครองและช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากรถประเภทใดบ้าง
#พรบ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ 2563
#ประกันภัย รถยนต์ภาคบังคับ พ ร บ ออนไลน์
#การประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ
#ประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ ราคา
#พรบ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ 2535